โจรกรรมร้านทอง! เหตุไม่คาดฝันที่ไม่มีใครอยากให้เกิด หากคนร้ายมีอาวุธ แล้วเจ้าของร้านจะปกป้องตัวเองด้วยการยิงสวน การป้องกันตัวนี้ผิดกฎหมายหรือไม่?
ย้อนกลับไป วันที่ 8 ธันวาคม 2565 มีรายงานข่าวสะเทือนไปทั่วประเทศ เมื่อ 4 คนร้าย บุกปล้นร้านทอง “ห้างทองเยาวราช” ถนนท่าเรือ อ.เมือง จ.ตาก แล้วถูก เจ้าของร้าน ยิงสวนด้วยลูกซองจนคนร้ายหนีภายหลังถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้ 2 ราย เนื่องจากถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ 1 คน และถูกจับกุมขณะวิ่งหนีอีก 1 คน
ในคดีนี้ มีภาพหลักฐานชัดเจนถึงการถืออาวุธของคนร้ายเพื่อยิงต่อสู้เจ้าของร้านทอง ในกรณีนี้ จะถือว่าเป็นอันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย ทำให้เจ้าของร้านสามารถยิงป้องกันได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย
จะเห็นได้ว่าในทางการต่อสู้ในชั้นศาล “หลักฐาน” คือตัวแปรสำคัญของรูปคดี เพราะหากการยิงสวนกลับขึ้นเมื่อคนร้ายได้วิ่งหนีไปแล้ว เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นภาพวงจรปิดว่าคนร้ายพยายามจะยิงเพื่อหมายเอาชีวิต จะกลับกลายเป็นว่าเจ้าของร้านกระทำเกินกว่าเหตุโดยทันที!
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของ ผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด
ส่วนการป้องกัน “เกินกว่าเหตุ” นั้น หมายถึงการป้องกันตัวจากเหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การกระทำของผู้ป้องกันนั้นกลับร้ายแรงกว่าอันตราย ตามมาตราที่ 69
มาตรา 69 ถ้าผู้กระทำได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้แต่ถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความ ตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้
กล่าวโดยสรุปคือ การยิงสวนโจรปล้นร้านทองนั้น ไม่ผิดกฎหมาย หากมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นการป้องกันตัว
พยานบุคคลคือคนสำคัญในคดีอาญา เพราะหากคดีไปถึงชั้นศาลแล้วย่อมมีการสืบพยานเพื่อสั่งฟ้อง บุคคลเหล่านั้นอาจเป็นลูกจ้าง เจ้าของร้าน ประชาชนในพื้นที่ข้างเคียง หรือร้านค้าข้างเคียงที่มองเห็นเหตุการณ์
กล้องวงจรปิด CCTV Network นั้นคือหลักฐานที่ได้รับความน่าเชื่อถือที่สุดในชั้นศาล เพราะมีการระบุภาพเหตุการณ์ วัน เวลา และทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการยิงเพื่อตอบโต้นั้นคือการป้องกันตัว