EN | TH | CN

รวม 7 วิธีป้องกันอัคคีภัยภายในบ้าน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีป้องกันอัคคีภัยภายในบ้าน

การเกิดอัคคีภัย หรือเหตุไฟไหม้ภายในบ้าน เป็นหนึ่งในภัยอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจนำมาซึ่งการสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง หรืออาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การเรียนรู้วิธีป้องกันอัคคีภัยในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้อยู่อาศัยทุกคนควรศึกษา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

7 วิธีป้องกันอัคคีภัยภายในบ้าน

สาเหตุการเกิดอัคคีภัยภายในบ้าน แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ อัคคีภัยที่เกิดจากความตั้งใจ เช่น การลอบวางเพลิง หรือการก่อวินาศกรรม และอัคคีภัยที่เกิดจากความประมาทของผู้อยู่อาศัย ซึ่งสามารถลดความเสี่ยง หรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ด้วยวิธีป้องกันอัคคีภัยภายในบ้านต่อไปนี้

7 วิธีป้องกันอัคคีภัยภายในบ้าน

1. ติดตั้งสัญญาณเตือนไฟไหม้ วิธีป้องกันอัคคีภัยที่ครอบคลุมทั้งเหตุจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ

อัคคีภัยที่เกิดจากความประมาทของผู้อยู่อาศัยนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการเพิ่มความระมัดระวัง แต่อัคคีภัยที่เกิดจากคนภายนอกจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% ด้วยเหตุนี้การติดตั้งสัญญาณเตือนไฟไหม้ที่มีคุณภาพสูง สามารถตรวจจับควันไฟและความร้อนได้อย่างแม่นยำ พร้อมมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังภัยตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนผู้อยู่อาศัยเมื่อเกิดเหตุอย่างทันท่วงที จึงเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันอัคคีภัยสำคัญที่ผู้อยู่อาศัยทุกคนไม่ควรมองข้าม

2. จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย

การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เป็นวิธีป้องกันอัคคีภัยง่าย ๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้มาก โดยคุณควรที่จะกำจัด หรือแยกวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงให้ห่างจากแหล่งความร้อน เช่น 

  • หลีกเลี่ยงการติดตั้งผ้าม่านใกล้บริเวณเตาแก๊ส โดยเฉพาะผ้าม่านที่ทำจากวัสดุไนลอน หรือโพลีแอสเตอร์ เพราะเป็นวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายและลุกลามเร็ว 
  • จัดเก็บวัสดุไวไฟต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารต่าง ๆ ผ้า พรมปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ห่างไกลจากจุดเสี่ยงไฟไหม้
  • ไม่วางสิ่งของกีดขวางบริเวณประตูทางออกฉุกเฉินและบันไดหนีไฟ
  • ควรติดตั้งประตูหน้าต่างที่สามารถเปิดปิดได้ อย่างน้อยห้องละ 1 บาน

3. เลือกใช้ถังดับเพลิงเคมีถูกประเภท ติดตั้งในบริเวณที่หยิบใช้ง่าย

อีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่ควรละเลยก็คือ การติดตั้งถังดับเพลิงเคมีให้หยิบใช้ง่าย และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้สามารถระงับเหตุไฟไหม้ที่ไม่รุนแรงมากได้อย่างทันท่วงที และป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเป็นวงกว้างได้

อย่างไรก็ตาม ถังดับเพลิงเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะเหมาะสำหรับการดับไฟที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ชนิดผงเคมีแห้ง : สามารถใช้ดับไฟได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นเพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ติดไฟยาก เมื่อฉีดออกมาแล้ว จะมีลักษณะเป็นฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย จึงเป็นอุปสรรคต่อการดับเพลิง และก่อให้เกิดคราบสกปรก
  • ชนิดเคมีสูตรน้ำ : สามารถใช้ดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไป ของเหลวติดไฟ ก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้า และน้ำมันที่ติดไฟยากได้ เป็นชนิดที่เหมาะสำหรับใช้งานภายในบ้านมากที่สุด เพราะสามารถดับไฟที่เกิดจากน้ำมันประกอบอาหารได้
  • ชนิดน้ำยาเหลวระเหย : เหมาะสำหรับใช้ดับไฟที่เกิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ห้องไฟฟ้า ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้สำนักงานได้ เพราะไม่ทำให้เกิดคราบสกปรก
  • ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เป็นถังดับเพลิงเคมีที่นิยมใช้ควบคุมเพลิงไหม้ในสถานีบริการน้ำมัน โดยหลังฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัดคล้ายน้ำแข็ง ซึ่งจะช่วยลดความร้อนของไฟได้ 
  • ชนิดโฟม : จะเหมาะสำหรับใช้ดับเพลิงในภาคอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ โดยเมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นฟองโฟมปกคลุมเชื้อเพลิง ไม่เหมาะสำหรับใช้ดับไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ผู้ใช้งานถูกไฟฟ้าดูดได้

4. ตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ

เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ภายในบ้านได้ การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ติดตั้งสายไฟและฟิวส์ที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณ หมั่นตรวจสอบการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น หลอดไฟ หรือเครื่องปรับอากาศ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังใช้งาน จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันอัคคีภัยที่มีประสิทธิภาพ

5. เพิ่มความระมัดระวังในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับไฟ

มีหลายกิจกรรมภายในบ้านที่เกี่ยวข้องกับไฟ เช่น การจุดธูปเทียน การจุดยากันยุง การประกอบอาหารด้วยถ่าน หรือการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรอย่างระมัดระวังและทำภายใต้การดูแลของคนในบ้าน 

คุณสามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับไฟอย่างปลอดภัยได้ง่าย ๆ เพียงแค่หลังจากที่จุดจุดธูปเทียน หรือจุดยากันยุงแล้ว จะต้องมีคนดูจนกว่าจะดับสนิท ไม่ทิ้งบุหรี่โดยที่ไม่ดับไฟ และไม่ทำกิจกรรมใกล้กับวัสดุที่ติดไฟง่าย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุไฟไหม้ได้มากแล้ว

6. เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ก๊าซหุงต้ม

คนไทยส่วนใหญ่จะประกอบอาหารด้วยก๊าซหุงต้มเป็นหลัก ซึ่งก๊าซหุงต้มจัดเป็นแหล่งกำเนิดอัคคีภัยที่มีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้บ้านได้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดไฟอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า การใช้งานก๊าซหุงต้มอย่างระมัดระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย

เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยการใช้งานก๊าซหุงต้ม ผู้ใช้งานก๊าซหุงต้มควรเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่เรียนรู้วิธีการใช้งานที่ถูกต้องมาแล้ว โดยหลังจากที่ใช้งานจะต้องปิดวาล์วถังก๊าซทุกครั้ง และควรหมั่นตรวจสอบถังก๊าซและวาล์วถังก๊าซให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ห้ามให้ท่อนำก๊าซมีรอยรั่วเด็ดขาด

7. เลือกใช้ประกันอัคคีภัยสำหรับที่พักอาศัยเพื่อความมั่นคง

แม้จะป้องกันอัคคีภัยด้วยวิธีที่ดีและครอบคลุมขนาดไหนก็ตาม แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ก็ล้วนแต่ยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อยู่ดี การซื้อประกันอัคคีภัยสำหรับที่พักอาศัย เพื่อช่วยลดความเสียหายต่อทรัพย์สินและอาคาร และช่วยให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ดีขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันอัคคีภัยที่ไม่ควรมองข้าม

ประกันอัคคีภัยสำหรับที่พักอาศัยเพื่อความมั่นคง

สรุปเรื่องวิธีป้องกันอัคคีภัย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 7 วิธีป้องกันอัคคีภัยที่เรานำมาแนะนำบทความนี้ จะเห็นได้ว่า ครอบคลุมทั้งสำหรับการป้องกันอัคคีภัยที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งคุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้วางระบบป้องกันอัคคีภัยภายในบ้านได้เลย และสำหรับท่านใดที่ยังไม่รู้ว่าจะติดตั้งสัญญาณเตือนเหตุไฟไหม้ และซื้อประกันอัคคีภัยที่ไหนดี สามารถขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจาก AEG ได้เลย เราพร้อมให้คำแนะนำและบริการวางระบบเตือนอัคคีภัยและประกันสำหรับที่พักอาศัยครบวงจร รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังอย่างแน่นอน

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)
CTA - AEG Blog Website (5)

ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

1 รู้จักกับน้ำประสานทอง สำคัญต่อการผลิตทองคำอย่างไร

รู้จักกับน้ำประสานทอง สำคัญต่อการผลิตทองคำอย่างไร

By admin.aeginc | 1 เมษายน 2024 | ประกันภัย
Read More
1 รวมจุดเก็บของมีค่าสุดแหวกที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมได้

รวมจุดเก็บของมีค่าสุดแหวกที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมได้

By admin.aeginc | 1 เมษายน 2024 | ประกันภัย
Read More
5 วิธีรับมือกับขโมยขึ้นบ้านแบบปลอดภัย

5 วิธีรับมือกับขโมยขึ้นบ้านแบบปลอดภัย

By admin.aeginc | 5 เมษายน 2023 | ระบบรักษาความปลอดภัย
Read More