EN | TH | CN

5 เรื่องต้องรู้สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเปิดร้านทอง

การเปิดร้านทองหรือทำธุรกิจซื้อ – ขายทองคำ เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดซับซ้อนและต้องวางแผนให้รอบคอบเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้ไม่ได้มีแค่การซื้อ – ขายทองคำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีการทำธุรกิจอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การรับขายฝาก การขายอัญมณีและเครื่องประดับ หรือการรับจำนำทอง ซึ่งแต่ละธุรกิจจะมีภาระทางภาษีอากรที่แตกต่างกัน

ในบทความนี้ AEG ได้สรุป 5 เรื่องที่ต้องรู้สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเปิดร้านทอง จะช่วยให้คุณวางแผนเปิดร้านซื้อ – ขายทองคำได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมคำแนะนำในการเก็บทองอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะเป็นอีกเรื่องที่คนอยากเปิดร้านทองต่างเป็นกังวล

รวมเรื่องที่ต้องรู้สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเปิดร้านทอง

อยากเปิดร้านทองต้องใช้เงินเท่าไหร่?

การเปิดร้านทองจำเป็นต้องวางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ในระยะยาว การกำหนดเงินลงทุนและเงินสำรองที่จำเป็นในการเริ่มต้นธุรกิจจึงต้องทำอย่างรอบคอบที่สุด เริ่มต้นด้วยการกำหนดจำนวนสินค้าคงคลังซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของร้านทองและประเภทของทองที่คุณต้องการจะขาย อีกทั้งการเตรียมเงินสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ เช่น ตลาดทองตกต่ำ และเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ ควรสำรองไว้อย่างน้อยหกเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค ค่าประกันภัย เงินเดือนพนักงาน และค่าใช้จ่ายทางการตลาด ไปจนถึงการลงทุนสำหรับระบบรักษาความปลอดภัย อย่างการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด การติดสัญญาณกันขโมย ระบบเตือนภัยต่าง ๆ และการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

5 เรื่องต้องรู้ก่อนเริ่มต้นเปิดร้านทอง

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นเปิดร้านทองร้านแรกของตนเอง 5 สิ่งต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่คุณควรจะศึกษาให้ดีก่อนที่จะเปิดร้านซื้อ – ขายทองคำ

1. ก่อนเปิดร้านทองต้องรู้จักประเภทของทองคำก่อน

ในร้านทองนั้น จะแบ่งทองคำออกเป็น 3 ประเภท หลัก ๆ ได้แก่

  • ทองคำแท่ง : ทองคำที่ยังไม่ได้นำไปขึ้นรูปเป็นทองรูปพรรณ ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทองคำแท่ง 99.99% และทองคำแท่ง 96.5% (ได้รับความนิยมในไทย)
  • ทองรูปพรรณ : ทองคำที่ถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้จะรวมถึงนาก ที่เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างทองแดง ทองคำ และเงินด้วย โดยแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทเหมือนกับทองคำแท่ง ได้แก่ ทองรูปพรรณ 99.99% และทองรูปพรรณ 96.5%

ทองคำแท่งและทองรูปพรรณนั้น จะได้รับสิทธิ์ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่าง

อย่างไรก็ตาม ทองรูปพรรณจะต้องไม่มีส่วนประกอบของอัญมณีอื่น ๆ อยู่ ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย หรือทับทิม หากเครื่องดับที่ทำจากทองคำมีส่วนประกอบของอัญมณีจะไม่ถือว่าเป็นทองรูปพรรณ และไม่ได้รับสิทธิ์คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่าง

2. ค่ากำเหน็จ ปัจจัยสำคัญในการคิดราคาขายทองรูปพรรณ

ผู้ที่อยากจะเริ่มต้นเปิดร้านทองหลายคนอาจสงสัยว่า แล้วเราจะคิดราคาขายปลีกทองรูปพรรณอย่างไรให้ได้กำไร ไม่ขาดทุน คำตอบก็คือให้คิดราคาขายบวกเพิ่มจากค่ากำเหน็จด้วย

ค่ากำเหน็จ คือ ค่าดำเนินการในการผลิตทองคำรูปพรรณ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า ค่าจ้างผลิตทองรูปพรรณ ซึ่งผู้ที่ขายส่งทองรูปพรรณจะมีการบวกค่ากำเหน็จเพิ่มจากราคาทองคำแท่งที่นำมาผลิต ซึ่งผู้ประกอบการที่จะนำทองรูปพรรณมาขายปลีกก็จำเป็นที่จะต้องบวกราคาเพิ่มอีก เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกจากค่าสินค้า เช่น ค่าเดินทาง หรือค่าบำรุงรักษาร้าน

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราคาทองรูปพรรณที่วางขายอยู่ในร้านขายทองทั่วไปมีราคาที่สูงกว่าราคาขายทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศไว้นั่นเอง

รายได้ของกิจการร้านทอง

3. แหล่งรายได้ของกิจการร้านทอง

การซื้อ – ขายทองคำรูปพรรณและทองคำแท่งอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ร้านขายทองเติบโตได้ จึงเห็นได้ว่าผู้ที่ทำกิจการร้านทองจะทำธุรกิจอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มแหล่งรายได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น

  • การขายทองรูปพรรณใหม่ให้กับลูกค้า
  • การขายทองรูปพรรณเก่าให้กับผู้ค้าส่งทองคำ หรือผู้ผลิต
  • การรับฝากขายทองคำ
  • การขายเครื่องประดับอัญมณี รวมไปถึงสินค้าอื่น ๆ
  • การให้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น รับซ่อมทอง รับซ่อมเครื่องประดับ ใส่กรอบพระ รับชุบทอง หรือรับฝังพลอย เป็นต้น
  • การรับจำนำ หรือให้เช่าอาคาร

4. รายจ่ายของกิจการร้านทอง

รายจ่ายของกิจการ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ที่ต้องการเปิดร้านทองควรรู้ เพื่อที่จะได้เตรียมเงินทุนสำรองให้เพียงพอต่อการที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะได้ผลกำไร โดยรายจ่ายของกิจการร้านทอง มีดังนี้

  • ค่าซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ค่าซื้อทองรูปพรรณใหม่ ทองรูปพรรณเก่า ทองคำแท่ง หรือสินค้าอื่น ๆ
  • ค่าจ้างช่างทำทอง ในกรณีที่มีบริการเสริมอื่น ๆ ด้วย
  • ดอกเบี้ยจ่าย ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงินมาเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ
  • รายจ่ายในการดำเนินกิจการอื่น ๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ค่าขนส่ง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าประกันร้านทอง รวมไปค่าติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสัญญาณกันขโมย ระบบควบคุมการเข้าออกทางประตู หรือ ระบบกล้องวงจรปิด CCTV Networks เป็นต้น

5. การจ่ายภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ที่เปิดร้านทองแบบบุคคลธรรมดา

ในส่วนของการจ่ายภาษีอากรนั้น ผู้ประกอบการที่เปิดร้านทองแบบบุคคลธรรมดา จะต้องจ่ายภาษีเงินได้ในกรณีที่ขายทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง รับขายฝากทอง ขายสินค้า หรือให้บริการอื่น ๆ ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมา 60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 65 ทวิ หรือ 65 ตรี เพื่อลดหย่อนการจ่ายภาษีได้

อย่างไรก็ตาม หากกิจการร้านทองของคุณมีเงินที่ได้จากการขายสินค้า หรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีเงินได้เกิน 1.8 ล้านบาทด้วย

สิ่งสำคัญก็คือ หลังจากที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเสร็จเพิ่มแล้ว จะต้องสอบถามเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมด้วยว่า แต่ละธุรกิจในร้านทองจะต้องคิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร เนื่องจากแต่ละธุรกิจย่อยในร้านทองจะมีการคิดค่าภาษีมูลเพิ่มที่ไม่เท่ากัน ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลังได้

เก็บทองยังไงให้ปลอดภัย?

การที่เราจะเก็บทองยังไงให้ปลอดภัยนั้น หลัก ๆ แล้ว ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบต่าง ๆ ในร้านทอง ไม่ว่าจะเป็น ระบบกล้องวงจรปิด การเลือกใช้ตู้นิรภัย เหล็กดัด หรือระบบประตูควบคุมการเข้าออกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวางระบบดูแลรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม ต่อให้วางระบบดูแลรักษาความปลอดภัยดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างการโจรกรรมได้ 100% อยู่ดี การซื้อประกันร้านทอง รวมถึงประกันทองคำ เครื่องประดับ และอัญมณีภายในร้าน จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้การทำธุรกิจร้านทองมีความมั่นคงขึ้น และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการร้านทองทุกคนควรทำ

เก็บทองยังไงให้ปลอดภัย?

สรุปเรื่องที่ต้องรู้ก่อนเริ่มต้นเปิดร้านทอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนเปิดร้านทองที่เรานำมาแนะนำในบทความนี้ จะเห็นได้ว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างมากที่ผู้ที่คิดจะเริ่มต้นเปิดร้านซื้อ – ขายทองควรศึกษาให้เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของทองคำ การคิดราคาขาย การจ่ายภาษี รวมไปถึงการวางระบบดูแลรักษาความปลอดภัย และการซื้อประกันภัยให้กับร้านทองด้วย ซึ่งในส่วนนี้ AEG พร้อมให้ความช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่ เรามีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการวางระบบดูแลรักษาความปลอดภัยครบวงจร รวมถึงการออกประกันคุ้มครองทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงแบบไม่จำกัดวงเงิน ออกกรมธรรม์โดยตลาดประกันที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน หากท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของเราได้เลย

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)
CTA - AEG Blog Website (5)

ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยก่อนเปิดร้านเพชร

การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยก่อนเปิดร้านเพชร

By admin.aeginc | 25 กันยายน 2023 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
วิธีป้องกันการขโมยของในร้าน

วิธีป้องกันการขโมยของในร้าน

By admin.aeginc | 24 เมษายน 2023 | ระบบรักษาความปลอดภัย
Read More

วิธีรักษาความปลอดภัยที่นิยมในปัจจุบัน

By admin.aeginc | 22 พฤศจิกายน 2022 | ระบบรักษาความปลอดภัย
Read More