ระบบ Fire Alarm หรือสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ เป็นหนึ่งในระบบป้องกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารสมัยใหม่ ด้วยความสามารถที่ทำงานร่วมกับเครื่องในการตรวจจับควันและความร้อนอย่างรวดเร็ว ระบบนี้ช่วยเพิ่มโอกาสในการรับมือกับเหตุอัคคีภัยได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน การติดตั้งระบบ Fire Alarm ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ใช้อาคารและสังคมโดยรวม วันนี้ AEG จะมาอธิบายให้เข้าใจกันว่าระบบ Fire Alarm มีความสำคัญต่ออาคารมากขนาดไหน และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ระบบ Fire Protection System หรือระบบป้องกันอัคคีภัย ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในอาคารสามารถตัดสินใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นได้ดีขึ้น เพราะโดยทั่วไปแล้วเมื่อเห็นเหตุการณ์ไฟไหม้และกลุ่มควันขนาดใหญ่อยู่ตรงหน้ามักจะมีอาการตื่นตระหนกตกใจจนไม่สามารถคิดได้ทันว่าควรจะจัดการอย่างไร อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องได้ เช่น การวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง หรือเกิดอาการหมดสติจากการสูดควันเข้าไปและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น การนำระบบ Fire Alarm เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยในอาคารถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถรับรู้ถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ และนำไปสู่การรับมือและตัดสินใจต่อการปกป้องชีวิตได้อย่างปลอดภัย
Fire Protection System คือ ระบบเตือนการเกิดเหตุไฟไหม้ เป็นระบบดับเพลิงที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นกับอาคารทุกรูปแบบ เพื่อระงับเหตุไฟไหม้ได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยได้อย่างเห็นผล โดยการทำงานของระบบดับเพลิงจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการแจ้งเตือนเหตุไฟไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน และส่วนของการระงับเพลิง เช่น สปริงเกอร์ดับเพลิง (Sprinkler) หรือหัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) สายฉีดน้ำดับเพลิง ถังดับเพลิง เป็นต้น
โดยทั่วไปของอุปกรณ์ในระบบ Fire Alarm นั้นจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ตรวจจับความผิดปกติที่แตกต่างชนิดกัน สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภทหลักดังนี้
อุปกรณ์ควบคุมสัญญาณหลัก คืออุปกรณ์ส่วนกลางที่ทำหน้ารับสัญญาณผิดปกติจากอุปกรณ์ตรวจจับไฟไหม้ตามจุดต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ในอาคาร โดยจะมีการนำข้อมูลไปแปรเป็นสัญญาณเตือนภัยส่งต่อไปยังอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่เรียกว่า Fire Alarm Control Panel (FCP) หรือตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเตือน ภายในตู้จะมีอุปกรณ์หลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ
อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้ คืออุปกรณ์ส่วนถัดมาที่มีการติดตั้งไว้กระจายตามบริเวณต่าง ๆ ของอาคาร โดยอุปกรณ์ตรวจจับทุกชิ้นจะมีการเชื่อมต่อหากันด้วยสายสัญญาณ เพื่อส่งข้อมูลไปยังตู้ Fire Alarm Control Panel และรับกระแสไฟฟ้าจาก เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกตัด โดยอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณไฟไหม้จะมีทั้งหมด 3 ชุดย่อยคือ
โดยอุปกรณ์เหล่านี้ควรจะมีการส่งสัญญาณกลับไปยัง Fire Alarm Control Panel อยู่ตลอดเวลา เพื่อตรวจจับสถานะและการทำงานของอุปกรณ์อยู่เสมอ
อุปกรณ์ชุดสุดท้ายคือ อุปกรณ์สำหรับแจ้งเหตุไฟไหม้ที่ภายในอุปกรณ์จะมีส่วนที่ใช้ส่งเสียงเตือน ทั้งในรูปแบบของเสียงไซเรน เสียงกระดิ่งแจ้งเตือน และอาจมีสัญญาณไฟร่วมด้วย โดยการแจ้งเตือนจะถูกส่งสัญญาณโดยตรงมาจากตู้ Fire Alarm Control Panel โดยตรง ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วในการแจ้งเตือนยังมีอุปกรณ์การแจ้งเตือนแบบ Manual ที่ทางผู้พบเห็นไฟไหม้หรือทางผู้ใช้งานสามารถส่งสัญญาณว่าไฟไหม้ได้ด้วยตัวเองอย่างทันที
ระบบ Fire Alarm เป็นสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่มีประโยชน์และความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของผู้อยู่ในอาคาร โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นเพลิงไหม้ ระบบนี้ช่วยเตือนภัยแก่ผู้อยู่อาศัยให้ทราบถึงอันตรายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีเวลาเพียงพอในการอพยพออกจากอาคารอย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการตื่นตระหนกและการตัดสินใจผิดพลาดในภาวะคับขัน นอกจากนี้ ระบบ Fire Alarm ยังช่วยปกป้องทรัพย์สินโดยการแจ้งเตือนแก่หน่วยดับเพลิงได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถควบคุมเพลิงได้เร็วขึ้น ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างอาคารและสิ่งของมีค่าภายในอาคารได้
ระบบ Fire Alarm มีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของอาคาร โดยทำหน้าที่แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงความรวดเร็วในการระบุพื้นที่เกิดเหตุและการแจ้งเตือนผู้อยู่ในอาคารให้อพยพได้ทันท่วงที ในปัจจุบัน มีวิธีการแจ้งเตือนหลัก ๆ 2 รูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนี้
ระบบการแจ้งเหตุเป็นโซน (Conventional System) แบ่งพื้นที่ควบคุมออกเป็นส่วน ๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด เมื่อเกิดเหตุ ระบบจะทำการแจ้งเตือนเป็นบริเวณกว้าง ๆ โดยไม่ระบุจุดเกิดเหตุแน่ชัด เหมาะสำหรับอาคารขนาดเล็ก ทำให้สามารถค้นหาต้นเพลิงได้ในขอบเขตที่จำกัด แต่อาจต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อระบุตำแหน่งที่แน่นอน
ระบบการแจ้งเหตุเฉพาะจุด (Addressable System) สามารถระบุตำแหน่งการเกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ ใช้อุปกรณ์ตรวจจับที่มีความสามารถในการระบุตำแหน่งได้ ทำให้สามารถเข้าระงับเหตุและอพยพคนออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการความแม่นยำสูงในการระบุจุดเกิดเหตุ
สำหรับขั้นตอนการทำงานระบบดับเพลิงของ AEG เริ่มต้นที่ เมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามาว่าสนใจติดระบบ Fire Alarm ทาง AEG จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบสถานที่ เพื่อให้คำปรึกษาว่ามีตำแหน่งไหนบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยพร้อมแนะนำว่า ควรติดอุปกรณ์ตัวไหน ที่ตำแหน่งใด ทั้งหมดกี่ตัว ส่วนใหญ่ระบบ Fire Protection System ในทุกอาคาร เบื้องต้นเราจะแนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อย่างน้อย 1 ตัว อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อย่างน้อย 1 ตัว
เมื่อทำการตกลงเรื่องตำแหน่ง จำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ทาง AEG จะส่งทีมช่างเข้าติดตั้งพร้อมสอนการใช้งานและขั้นตอนปฏิบัติหลังติดตั้งอุปกรณ์ เช่น หากมีการซ้อมหนีไฟประจำปีจะต้องปิดระบบยังไง หรือกรณีเป็นโรงงานใหญ่ที่มีหลายโซน โซนไหนที่มีอุปกรณ์สัญญาณเตือนไฟไหม้แจ้งเตือนขึ้นมา สามารถตรวจดูได้จากเครื่องควบคุมจุดเดียว เป็นต้น หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบ Fire Protection System จะเริ่มทำงานตลอด 24 ชม. โดยมี AEG CMS คอยเฝ้าดูสัญญาณเตือนไฟไหม้จากพื้นที่ของลูกค้า หากมีการแจ้งเตือน CMS จะโทรหาลูกค้าว่าตอนนี้อุปกรณ์เตือนภัยของเราจับได้ว่าโรงงานของคุณมีสัญญาณเตือนไฟไหม้ หลังจากนั้น CMS ก็จะรีบโทรหานักดับเพลิงให้เข้าไปในสถานที่ได้อย่างทันท่วงที