อีกรูปแบบของการทำธุรกิจเกี่ยวกับทอง รายได้ที่ร้านทองจะได้เป็นกอบเป็นกำ มาดูกันสิว่าการขายฝากทองคืออะไร เงื่อนไขอะไรที่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษบ้าง พร้อมมาดูกันสิว่าข้อแตกต่างของการขายฝากทองต่างกับการจำนำทองยังไง
การขายฝากทองคือ “ผู้ขายฝาก” ตกลงทำสัญญาซื้อขาย โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกไปเป็นของอีกบุคคลหนึ่งทันที ซึ่งเรียกว่า ‘ผู้ซื้อฝาก’ แต่ยังมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์คืนได้ในเวลาจำกัด ซึ่งทรัพย์สินในการขายฝากเป็นได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น บ้าน หรือ ที่ดิน และทรัพย์มีค่าที่เคลื่อนที่ได้ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยทรัพย์ที่มีราคา 500 บาท ขึ้นไป จะต้องมีการวางมัดจำ และทำหลักฐานเป็นหนังสือ
หากคุณต้องการที่จะขายฝากทองต้องรู้เงื่อนไข ดังนี้
ข้อแตกต่างที่เห็นกันได้อย่างชัดเจนคือ การขายฝากทองเป็นการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ ไถ่คืนได้ตามสัญญาเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่า 500 บาทขึ้นไป ต้องมีการวางมัดจำและทำหนังสือเป็นหลักฐาน ส่วนการจำนำทองนั้นไม่ต้องเสียทรัพย์ ไถ่ถอนคืนได้เมื่อพร้อมนำทองคำทั้งทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณไปจำนำไว้กับโรงรับจำนำที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดมาใช้ในยามจำเป็น
โดยมีอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้ชัดเจน พร้อมทั้งรับตั๋วจำนำที่ระบุรายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งวันที่ต้องมาไถ่ถอนมาเก็บไว้ เมื่อครบกำหนด 4 เดือน 30 วัน ก็นำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาไถ่ถอนทองคำคืน โดยราคารับจำนำทองจะอยู่ที่บาทละเท่าไหร่นั้น ก็จะขึ้นอยู่กับราคาทองในช่วงเวลานั้น ๆ และน้ำหนักของทองคำที่นำมาจำนำด้วย
ประโยชน์ของร้านค้าที่รับขายฝากทองคำ คือ ได้รับดอกเบี้ยจากผู้ขายฝากตามเวลาที่กำหนด หากมีการผิดสัญญาก็สามารถยึดทองที่นำมาขายฝากได้ สำหรับลูกค้าที่นำทองมาขายฝากนั้นจะได้รับเงินมาใช้ได้ในราคาที่สูงกว่าการนำไปจำนำ แต่ก็ต้องทำใจว่าต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่าการนำไปจำนำด้วย
และนี่คืออีกเรื่องราวของทองคำที่เอามาฝากกัน การขายฝากทองเป็นทางเลือกที่ดีของคนที่อยากเปลี่ยนทรัพย์สินอย่างทองคำให้เป็นเงินสด การขายฝากจะมีอัตราการจ่ายสูงกว่าการจำนำ นี่คือข้อแตกต่างของการจำนำกับการขายฝาก แต่ทั้งสองอย่างก็ต้องทำกับโรงรับจำนำ หรือร้านทองที่น่าเชื่อถือ สำหรับเจ้าของร้านทองสิ่งที่จำเป็นคือการดูทองว่าเป็นทองคำแท้หรือไม่ และควรมองหา ประกันร้านทอง ดี ๆ ติดไว้เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ในอนาคต