EN | TH | CN

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน 4 ประการที่ผู้ประกอบการต้องรู้

มาดู 4 มาตรฐานความปลอดภัยโรงงานที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ มาตรการความปลอดภัยทั้ง 4 นั้นจะมีอะไรบ้าง ด้านไหนมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร เก็บข้อมูลกันสักนิดก่อนคิดเปิดโรงงาน เพื่อความปลอดภัยในโรงงานที่เต็ม 100% ให้ความอุ่นใจกับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่และความอุ่นใจของผู้ประกอบงานว่าจะไม่ก่อเกิดความเสียหายกับโรงงาน จะมามาตรการไหนบ้างมาดูกันเลย!

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานสำคัญอย่างไร

2 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานสำคัญอย่างไร

โรงงานเป็นสถานที่ทำงานที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ เพราะมีการทำงานของเครื่องจักร สารเคมี ความร้อนที่ใกล้กับคนมาก ๆ ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยในโรงงานจึงมีความสำคัญมาก จนมีมาตรฐานกำหนดเป็นสากลสำหรับแต่ละธุรกิจ และต้องมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดให้บุคลากรปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานในโรงงานและรักษาผลประโยชน์สำหรับเจ้าของโรงงานด้วย

4 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานที่สำคัญ

3 4 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานที่สำคัญ

มาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงงานนั้นจะมาคู่กับระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน โดยที่มาตรการเหล่านั้นจะแบ่งเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ คือ

1. มาตรฐานด้านความร้อน

มาตรการด้านความร้อนเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงงาน ข้อแรกคือต้องไม่ปล่อยให้ความร้อนในโรงงานมีผลให้ร่างกายของคนที่อยู่ในโรงงานสูงเกิน 38 องศา ต้องมีช่องทางระบายความร้อนออกไป มีเครื่องมือในการป้องกันความร้อนที่เหมาะสมกับความร้อนที่บุคลากรต้องเจอในระหว่างทำงาน มีระบบการแจ้งเตือนเมื่อมีความร้อนถึงขีดที่จำกัด 

2. มาตรฐานด้านเสียง

สำหรับมาตรการความปลอดภัยในโรงงานด้านเสียงนั้น เช่นเดียวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางความร้อน คือต้องมีอุปกรณ์ที่ป้องกันเสียงที่เหมาะสม และมีมาตรการกำหนดชัดเจนเป็นลำดับขั้นไป คือ

  • ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน มาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับเสียงต้องไม่เกิน 91 เดซิเบล
  • ทำงาน 7- 8 ชั่วโมง/วัน มาตรฐานเสียงที่บุคลากรรับได้ต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล
  • ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง/วัน มาตรฐานเสียงที่ถูกกำหนดไว้ต้องไม่เกิน 80 เดซิเบล

3. มาตรฐานด้านแสงสว่าง

แสงสว่างเป็นอีกเรื่องที่ต้องกำหนดมาตรการชัดเจน เพราะหากแสงสว่างไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้ เช่นเดียวกับโรงงานที่มีแสงไฟมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อสายตาของบุคลากรในโรงงานเช่นกัน ดังนั้นมาตรการความปลอดภัยในโรงงานเรื่องแสงจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ โดยที่แบ่งตามรายละเอียดของงานได้ดังนี้

  • แสงสว่างสำหรับงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดสูงและแสงสว่างในการเก็บวัสดุความเข้มของแสงมากกว่า 50 Lux
  • แสงสว่างสำหรับที่ต้องใช้ความละเอียดเล็กน้อยต้องมีความเข้มข้นของแสงมากกว่า 100 Lux
  • แสงสว่างสำหรับงานในโรงงานที่มีความละเอียดปานกลางต้องมีความเข้มข้นแสงมากกว่า 200  Lux
  • สำหรับงานในโรงงานที่มีความละเอียดสูงต้องมีความเข้มข้นแสงมากกว่า 300 Lux
  • งานในโรงงานที่ต้องอาศัยความละเอียดสูงเป็นพิเศษต้องมีความเข้มข้นของแสงมากกว่า 1000 Lux
  • สำหรับโรงงานที่มีพื้นที่เปิดโล่งแล้ว มีแสงธรรมชาติส่องชัดเจนต้องมีความเข้มข้นแสงมากกว่า 20 Lux 

4. มาตรฐานด้านสารเคมีและอนุภาค

4 มาตรฐานด้านสารเคมีและอนุภาค

ความปลอดภัยในโรงงานที่มองข้ามไม่ได้อีกหมวดคือ มาตรการเกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีและฝุ่นละออง โดยที่โรงงานที่มีการใช้สารเคมีต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับบุคลากรชัดเจนถึงโทษที่อาจเกิดขึ้น และมีการป้องกันสารเคมีในชั้นบรรยากาศ ระยะเวลาที่บุคลากรต้องอยู่กับสารเคมีเหล่านั้น กำหนดบริเวณที่มีสารเข้มข้นของสารเคมีนั้นๆ ชัดเจน รวมถึงความหนาแน่นของฝุ่นและแร่ที่ถูกกำหนดไว้ตามกฎหมายด้วย

สรุปบทความ

มาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงงานมีทั้งหมด 4 หมวด คือเรื่อง แสง เสียง ความร้อนและสารเคมี แต่ละหมวดจะมีมาตรการทางกฎหมายต่างกันไป แต่ทุกมาตรการจะช่วยเรื่องความปลอดภัยของบุคลากรในโรงงานได้ นอกจากมาตรการทั้ง 4 แล้ว ระบบป้องกันอัคคีภัยก็เป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพื่อส่งสัญญาณได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น และสำหรับเจ้าของโรงงานสิ่งที่ขาดไม่ได้คือประกันโรงงานที่จะต้องทำเพื่อเป็นหลักประกันรองรับเพิ่มความอุ่นใจให้กับเจ้าของกิจการอีกขั้นหนึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)
CTA - AEG Blog Website (5)



ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

H1 รู้จักแนวคิด Lean Manufacturing คืออะไร?

By admin.aeginc | 2 กรกฎาคม 2024 | ประกันภัย
Read More
H1 ติดตั้งระบบกันขโมยให้กับโรงงานแบบไหนดี

ติดตั้งระบบกันขโมยให้กับโรงงานแบบไหนดี

By admin.aeginc | 1 เมษายน 2024 | ประกันภัย
Read More
1.1 วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อโดนปล้นทอง

แชร์วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์โดนปล้นทอง

By admin.aeginc | 2 ตุลาคม 2024 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More