ถังดับเพลิง เป็นอุปกรณ์สำคัญในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น การตรวจเช็คถังดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน บทความนี้จะมาแนะนำวิธีเช็คถังดับเพลิงเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง
ถังดับเพลิงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
ถังดับเพลิงประเภทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ตัวถังบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดออกมาจะเป็นไอเย็น สามารถใช้ดับเพลิงประเภท B (เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ) และประเภท C (เพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า) ได้ จึงเหมาะกับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ครัว โรงอาหาร ห้องเซิร์ฟเวอร์ หรือพื้นที่เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูง
ถังดับเพลิงประเภทเคมีแห้ง มีผงเคมีแห้งบรรจุอยู่ภายใน สามารถใช้ดับไฟได้หลายประเภททั้ง ประเภท A (เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง) ประเภท B (เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ) และประเภท C (เพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า) ได้ จึงเหมาะกับใช้ในอาคาร ที่อยู่อาศัย หรือโรงงานอุตสาหกรรม
เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ขอแนะนำ 6 วิธีเช็คถังดับเพลิงเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบเกจ์วัดแรงดันที่อยู่บนถังดับเพลิง เข็มควรชี้อยู่ในช่องสีเขียว ซึ่งแสดงว่ามีแรงดันเพียงพอ หากเข็มชี้ไปทางซ้าย (ต่ำกว่าปกติ) หรือทางขวา (สูงกว่าปกติ) แสดงว่าถังอาจมีปัญหา ไม่สามารถฉีดเพื่อดับไฟได้
อย่างไรก็ตาม ถังดับเพลิงประเภท CO2 จะไม่มีเกจ์วัดแรงดัน ให้ตรวจสอบน้ำหนักแทน ถ้าน้ำหนักลดลงจากค่าน้ำหนักมาตรฐาน แสดงว่าถูกใช้งานไปแล้ว หรืออาจมีการรั่วไหลของก๊าซ ต้องเติมก๊าซเข้าไปใหม่
ตรวจสอบสภาพของสายฉีดและหัวฉีด ต้องไม่มีรอยแตก ฉีกขาด และไม่มีสิ่งอุดตัน เพื่อป้องกันการรั่วซึมตามซอกสายฉีดเมื่อนำถังดับเพลิงมาใช้งาน ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้
พิจารณาสภาพภายนอกรอบ ๆ และก้นถังดับเพลิง ต้องไม่มีรอยบุบ รอยแตก หรือสนิม ฉลากต้องอ่านได้ชัดเจน ไม่ลอกหลุด ถังต้องสะอาด ไม่มีคราบสกปรก หรือน้ำมันเกาะ
ตรวจสอบคันบีบของถังดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพดี ไม่หัก ไม่งอ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ติดขัด ไม่มีสนิม หรือการผุกร่อนที่บริเวณคันบีบ หากคันบีบอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์จะทำให้ไม่สามารถกดเพื่อนำสารเคมีออกมาดับเพลิงได้
วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าถังดับเพลิงถูกใช้งานแล้วหรือยัง ให้ดูสลักและซีลล็อกที่คล้องอยู่กับคันบีบ ถ้ายังล็อกดีอยู่ แสดงว่า ถังดับเพลิงยังไม่ถูกเปิดใช้งาน เมื่อเกิดไฟไหม้ก็มั่นใจเลยได้ว่า ถังดับเพลิงสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
วิธีสุดท้าย คือ ตรวจสอบอายุการใช้งานของถังดับเพลิงซึ่งจะมีระบุไว้ข้างถัง โดยถังดับเพลิงประเภทเคมีแห้งจะมีอายุประมาณ 5 ปี และประเภทก๊าซ CO2 จะมีอายุประมาณ 10 ปี
การเช็กค่าแรงดันภายในถังดับเพลิงให้สังเกตเกจ์วัดแรงดันบนถัง เข็มควรอยู่ในช่องสีเขียว หากเข็มอยู่ในช่องสีแดงด้านซ้าย หรือ Recharge แสดงว่าแรงดันต่ำเกินไป ควรเติมก๊าซและเช็กแรงดันอีกครั้ง แต่ถ้าเข็มอยู่ในช่องสีแดงด้านขวา หรือ Overcharge แสดงว่าแรงดันสูงเกินไป ควรรีบส่งถังไปตรวจสอบ เพราะเสี่ยงต่อการระเบิด
การจัดเก็บถังดับเพลิงอย่างถูกต้องช่วยยืดอายุการใช้งานและสะดวกต่อการใช้งาน โดยพื้นที่จัดเก็บที่เหมาะสม ได้แก่
การตรวจเช็คถังดับเพลิงเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม วิธีเช็คถังดับเพลิงทั้ง 6 ข้อที่แนะนำไปนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง และควรทำเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงจะพร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน นอกจากมีถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งานแล้ว แนะนำให้ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้สามารถแจ้งสัญญาณเตือนไฟไหม้ได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้รู้ตัวเนิ่น ๆ และสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที และสำหรับใครที่อยากเพิ่มความอุ่นใจด้วยประกันอัคคีภัย ตัวช่วยคุ้มครองทรัพย์สินและอาคารเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ แต่ยังไม่รู้จะเลือกประกันอัคคีภัยที่ไหนดี สามารถติดต่อ AEG ได้เลย เรามีบริการด้านความปลอดภัยและประกันภัยแบบครบวงจร พร้อมสร้างสบายใจและความมั่นคงให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคุณมากที่สุด