EN | TH | CN

รู้จักแนวคิด Lean Manufacturing คืออะไร?

รู้จักแนวคิด Lean Manufacturing คืออะไร?

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ระบบ Lean หรือ Lean Manufacturing เป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงจะพาไปทำความเข้าใจให้มากขึ้นว่า Lean Manufacturing คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

หลักการพื้นฐานของ Lean Manufacturing

Lean Manufacturing คือระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า โดยลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด หลักการพื้นฐานของ Lean Manufacturing ประกอบด้วย

มุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่า

การสร้างคุณค่าในระบบ Lean หมายถึงการผลิตสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและลดต้นทุนการผลิตได้

กำจัดความสูญเปล่า

การกำจัดความสูญเปล่า เป็นหัวใจสำคัญของ Lean Manufacturing โดยมุ่งเน้นการกำจัดบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สร้างคุณค่าในกระบวนการผลิต

ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Lean Manufacturing เน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพอยู่เสมอ

8 ประเภทของความสูญเปล่า (Muda) ใน Lean Manufacturing

8 ประเภทของความสูญเปล่า (Muda) ใน Lean Manufacturing

ในระบบ Lean Manufacturing ได้มีการระบุความสูญเปล่าออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

1. การขนส่ง (Transportation)

การขนส่งวัตถุดิบหรือสินค้ามีต้นทุนทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากขนส่งสินค้าที่ไม่จำเป็น ขนส่งผิดพลาด ขนส่งซ้ำซ้อน หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างขนส่ง ก็จะยิ่งเกิดความสูญเปล่ามากขึ้น

2. การรอคอย (Waiting)

เวลาที่สูญเสียไปกับการรอคอย เช่น การรอวัตถุดิบ การรอเครื่องจักรทำงานเสร็จ หรือการรอคำสั่งจากหัวหน้างาน คนทำงานล่าช้า เป็นต้น

3. การผลิตที่มากเกินไป (Overproduction)

บางโรงงานเน้นผลิตเยอะเพื่อลดจำนวนครั้งการผลิต หรือผลิตไว้ล่วงหน้าเป็นเวลานานจนกลายเป็นว่าจำนวนสินค้ามากเกินความต้องการของลูกค้า ผลที่ตามมาคือ ต้นทุนจม เนื่องจากต้องเพิ่มพื้นที่เพื่อจัดเก็บมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีค่าเสื่อมสภาพของเพิ่มเข้ามา

4. สินค้าคงคลัง (Inventory)

การเก็บวัสดุและสินค้าคงคลังมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดต้นทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ต้นทุนในการจัดเก็บและดูแลรักษา ต้นทุนจากการเสื่อมสภาพ เป็นต้น

5. การเคลื่อนไหว (Motion)

การเคลื่อนไหวของพนักงานหรือเครื่องจักรที่ไม่จำเป็น หรือไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เสียเวลาและพลังงานโดยไม่จำเป็น

6. การทำงานที่ซ้ำซ้อน (Excess Processing)

ความสูญเปล่าจากการทำงานหรือกระบวนการผลิตที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อนเกินไป ซึ่งไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการ

7. ข้อบกพร่อง (Defect)

การผลิตสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการแก้ไขหรือผลิตใหม่

8. การใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่คุ้มค่า (Non-utilized Talent)

การไม่ใช้ศักยภาพของพนักงานอย่างเต็มที่ หรือการมอบหมายงานที่ไม่เหมาะสมกับทักษะและความสามารถของพนักงาน

หลักการที่ควรนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

หลักการที่ควรนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

องค์กรหรือธุรกิจต่าง ๆ สามารถสร้างระบบ Lean Manufacturing ได้ ด้วยการนำ 5 กระบวนการที่เรียกว่า Basic Principles of Lean ไปใช้ โดยประกอบไปด้วย

  • Identify Value การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด และกำหนดคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ต้องการมอบให้ลูกค้า
  • Map the Value Stream การวิเคราะห์แผนการดำเนินงานขององค์กร เพื่อวางแผนปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ
  • Create Continuous Worklof การสร้างกระบวนการทำงานให้ลื่นไหล มอบหมายงานให้เหมาะสม จะช่วยลดระยะเวลาการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
  • Create Pull System การสร้างระบบดึง คือ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ลดการผลิตที่มากเกินไปและการเก็บสต๊อกที่ไม่จำเป็น
  • Continuous Improvement การปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้องค์กรพัฒนาและปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด

ประโยชน์ของ Lean Manufacturing

การนำระบบ Lean Manufacturing มาใช้ในองค์กรสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น

  • ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไร
  • เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ
  • ลดระยะเวลาในการผลิตและส่งมอบสินค้า
  • สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  • เพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิตและตอบสนองต่อความต้องการของตลาด

สรุปบทความ

Lean Manufacturing เป็นแนวคิดที่มีมุ่งเน้นการสร้างคุณค่า กำจัดความสูญเปล่า และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การนำระบบ Lean ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การนำระบบ Lean Manufacturing มาใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านต่าง ๆ รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ซึ่งช่วยสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวคิด Lean Manufacturing 

สำหรับใครที่มองหาระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน สามารถเข้ามาขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของ AEG ได้เลย เราให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจทุกเวลาอย่างประกันโรงงาน สามารถเลือกความคุ้มครองตามแผนประกัน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อออกแบบความคุ้มครองเฉพาะคุณได้

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)
CTA - AEG Blog Website (5)

ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

แนะเคล็ดลับป้องกันการขโมยของในร้านสะดวกซื้อ

แนะเคล็ดลับป้องกันการขโมยของในร้านสะดวกซื้อ

By admin.aeginc | 13 สิงหาคม 2024 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
ปิดประวัติสมาคมอัญมณี-ตัวช่วยผลักดันตลาดอัญมณีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

เปิดประวัติสมาคมอัญมณี ตัวช่วยผลักดันตลาดอัญมณีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

By admin.aeginc | 5 กันยายน 2024 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
ติดกล้องวงจรปิดด้วยตัวเองกับบริษัทแบบไหนถึงจะดีกว่ากัน

ติดกล้องวงจรปิดด้วยตัวเองกับบริษัทแบบไหนถึงจะดีกว่ากัน

By admin.aeginc | 5 เมษายน 2023 | ระบบรักษาความปลอดภัย
Read More