EN | TH | CN

เจาะลึกอันตรายจากควันไฟไหม้ ที่หลายคนไม่เคยรู้

เจาะลึกอันตรายจากควันไฟไหม้ ที่หลายคนไม่เคยรู้

อันตรายจากควันไฟ ไม่เพียงแค่ทำลายบ้านเรือน อาคาร และทรัพย์สิน แต่ยังร้ายแรงต่อชีวิตของผู้คนและสัตว์เลี้ยง แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากความร้อนของเปลวไฟที่มีอุณหภูมิสูง แต่อีกสิ่งที่เปรียบเสมือนมารร้ายในเงามืดคือสารเคมีที่อยู่ในควันไฟ ในวันนี้ AEG ขอพาทุกคนไปเจาะลึกอันตรายที่อยู่ในควัน และคำแนะนำในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้น 

ในควันไฟมีสารอะไรบ้าง

อันตรายจากควันไฟมาจากสารเคมีที่อยู่ภายในควันเหล่านี้ เนื่องจากควันประกอบด้วยสารเคมีและอนุภาคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยสารเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้ของวัสดุที่ประกอบด้วยสารเคมีแตกต่างกันไป การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดก๊าซพิษและสารเคมีที่เป็นอันตราย เนื่องจากสารเหล่านี้ทำให้ปริมาณออกซิเจนในอากาศน้อยลง โดยสารที่พบได้บ่อยในควันไฟ ได้แก่ 

  • คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide – CO)

เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของวัสดุที่มีคาร์บอน เช่น ไม้, ถ่าน, และเชื้อเพลิงฟอสซิลจากงานวิจัยของ National Fire Protection Association (NFPA) ระบุว่าคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากการสูดควัน

  • คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide – CO2)

เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของวัสดุที่มีคาร์บอน โดยคาร์บอนไดออกไซด์จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลง การอยู่ท่ามกลางควันจึงทำให้หลายคนหายใจลำบาก

นอกจากนี้ยังสามารถพบสารอื่น ๆ เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสารเคมีอื่น ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นสารชนิดไหนก็ต่างเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เพื่อให้คุณปลอดภัยจากควันพิษเหล่านี้การติดตั้งระบบ Fire Alarm จาก AEG จะช่วยป้องกันเหตุได้ดีตั้งแต่เริ่มมีประกายไฟ 

อาการของผู้ที่สูดควันไฟเข้าไป

การสูดควันไฟเข้าไปสามารถทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับสารพิษจากควันเข้าไป อาการที่พบได้บ่อยได้แก่

  • หายใจลำบาก หายใจได้ไม่เต็มปอด เสียงแหบ หรือหายใจเร็วกว่าปกติ 
  • ไอและเจ็บคอ ไอบ่อยขึ้นและเจ็บคอกลืนน้ำลายลำบาก
  • ตาแดง ตาระคายเคืองง่าย แสบตานานกว่าปกติ
  • มึนหัวและหมดสติ คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำให้เกิดอาการมึนหัว หมดสติ และเสียชีวิตได้หากได้รับในปริมาณมาก
เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อเผชิญในสถานการณ์จริง

เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อเผชิญในสถานการณ์จริง

เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อเผชิญในสถานการณ์จริง? การเผชิญกับเหตุการณ์ไฟไหม้เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดและสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การรู้วิธีเอาตัวรอดและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเผชิญกับสถานการณ์จริงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดการบาดเจ็บได้ นี่คือขั้นตอนสำคัญที่ควรปฏิบัติ

  1. หนีออกจากที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว

หาทางออกที่ใกล้ที่สุด หากคุณอยู่ในอาคารที่เกิดไฟไหม้ ควรหาทางออกที่ใกล้ที่สุดทันที โดยใช้บันไดหนีไฟแทนการใช้ลิฟต์ แนะนำให้ใช้ผ้าจับลูกบิดทุกครั้งเพื่อเช็กความร้อนก่อนเปิดประตู หากรู้สึกร้อนอาจมีไฟที่กำลังไหม้อยู่ห้องถัดไป ไม่แนะนำให้เปิดออก 

  1. ปิดจมูกและปากเพื่อลดการสูดควัน

ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก วิธีนี้จะช่วยกรองฝุ่นและลดการสูดควันพิษเข้าสู่ร่างกายได้บางส่วน หากไม่มีผ้าชุบน้ำ สามารถใช้ผ้าชื้นทั่วไปมาปิดจมูกและปากแทน

  1. เดินหรือลุกคลานต่ำ

ควันไฟมักลอยขึ้นสูง การเดินหรือลุกคลานในระดับต่ำจะช่วยลดการสูดควันเข้าไป หากตัวติดไฟให้นอนกลิ้งกับพื้นไปมาเพื่อดับไฟ 

สรุปบทความ

สรุปบทความ

ควันไฟเป็นภัยที่น่ากลัวไม่แพ้เปลวไฟ การรู้จักสารเคมีในควันและอาการของผู้ที่สูดควันเข้าไปจะช่วยให้เราตระหนักถึงอันตรายและเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ การรู้วิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์จริงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดการบาดเจ็บได้ หวังว่าบทความนี้จาก AEG จะเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณเตรียมตัว ป้องกันตนเองได้ดีขึ้นในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้และอันตรายจากควันไฟได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้คุณสามารถป้องกันไปตั้งแต่เริ่มได้ด้วย Smoke Detector (อ่านเพิ่ม Smoke Detector คือ?)

CTA - AEG Blog on website
CTA - AEG Blog Website (3)
CTA - AEG Blog Website (5)

ติดตามหัวข้ออื่น ๆ

ประกัน ร้าน ทอง ทำไมทองคำถึงตอบโจทย์แฟชั่น Quiet Luxury เทรนด์การแต่งตัวที่กำลังมาแรง 

ทำไมทองคำถึงตอบโจทย์แฟชั่น Quiet Luxury เทรนด์การแต่งตัวที่กำลังมาแรง 

By angloeastgroup | 19 พฤษภาคม 2023 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
ประกัน ร้าน ทอง ไม่ได้เพิ่งมี! แต่ระบบรักษาความปลอดภัยในอาคาร และระบบสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน มีมาแล้วนับพันปี

ไม่ได้เพิ่งมี! แต่ระบบรักษาความปลอดภัยในอาคาร และระบบสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน มีมาแล้วนับพันปี

By angloeastgroup | 3 สิงหาคม 2023 | ข่าวสารและอัปเดท
Read More
เปิดสาเหตุสัญญาณไฟไหม้ดังเอง-พร้อมแนะวิธีแก้ไขเบื้องต้น

เปิดสาเหตุสัญญาณไฟไหม้ดังเอง พร้อมแนะวิธีแก้ไขเบื้องต้น

Read More